กิจกรรมที่ 4 ค้นคว้าเรื่องที่สนใจจากฐานข้อมูล


ค้นคว้าเรื่องที่สนใจจากฐานข้อมูล

1. ฐานข้อมูลที่ใช้ และ URL 

ฐานข้อมูลที่ใช้ สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์  


2. ประเภทของงานที่ค้นคว้าและแหล่งที่มา

ประเภทของงานที่ค้นคว้า บทความวิจัย


3. สรุปเนื้อหาสาระในเรื่องที่ค้นคว้า

ชื่อบทความวิจัย 
รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าผ่านเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 
1) ศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กเพจในรูปแบบต่างๆ 
2) ศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีต่อรูปแบบและข้อมูลข่าว
สารที่นำเสนอผ่านเฟซบุ๊กกรมอุทยานแห่งชาติฯ และ 
3) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าที่สามารถนำไปปรับเป็นกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า 
รูปแบบในการสื่อสารเพื่อส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า ประกอบด้วย 
1) การสื่อสารขององค์กร คือ การสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมตามภารกิจและเป้าหมายขององค์กรซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยรูปแบบการสื่อสารของเพจมีการนำเสนอด้วย ภาพ วีดิโอ บทความ กิจกรรม และการสนทนา 
2) พฤติกรรมของกลุ่มแฟนเพจกรมอุทยานแห่งชาติฯที่แสดงออก ประกอบด้วย การกดถูกใจ การส่งต่อข้อมูลและการแสดงความคิดเห็น 
3) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าของกลุ่มแฟนเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แบ่งออกเป็น การปฏิบัติตนในการอนุรักษ์การสนับสนุน/ส่งเสริมการเสนอแนะ และด้านอื่นๆ 
ซึ่งผลของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายตามภารกิจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชโดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพจ คือ เวลาที่โพสต์ เนื้อหาที่ โพสต์ ฯลฯ

4. ได้รับความรู้/การนำเอาความรู้ไปใช้

ได้เห็นรูปแบบและวิธีการดำเนินวิจัยของผู้วิจัยว่า สามารถใช้วิธีการดำเนินวิจัยและการเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ ซึ่งในบทความวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินวิจัยโดยผ่านการเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) โดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Face  to  Face  Interview: F2F) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Telephone  Interview)  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้วิจัยเลือกการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เพื่อให้บทความมีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ ซึ่งเราสามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้ได้เมื่อเราจะต้องการเก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กิจกรรมที่ 6 ออกแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ

บันทึกการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 13/7/62

วิเคราะห์การทำงาน