กิจกรรมที่ 6 วิเคราะห์งานวิจัยและสรุปเป็นรูปแบบ ADDIE Model

วิเคราะห์งานวิจัยและสรุปเป็นรูปแบบ ADDIE Model

ชื่อวิจัย : การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis

1.1 วิเคราะห์เอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 
1.3 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของวิชาภาษาอังกฤษ
1.4 วิเคราะห์เกมภาษา
1.5 วิเคราะห์ปัญหาและเทคนิควิธีการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ


2. ขั้นการออกแบบ Design

2.1 ระบุวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยเรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2.2 สร้างแผนการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบ ซึ่งสร้างและพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย
2.3 สร้างแบบทดสอบการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2.4 สร้างแบบสอบถามตวามพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2.5 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด

3. ขั้นการพัฒนาและหาประสิทธิภาพ Development

3.1 ศึกษาวิธีสร้างแบบทดสอบจากเอกสารตำรา แนวคิด ทฤษฏี และรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการ สร้างแบบทดสอบกับความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6
3.2 ศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที ่ได้คัดเลือกตามจุดประสงค์การเรียนรู้และสร้าง แบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก และแบบเติมคำจำนวน 40 ข้อ โดยการวัดผลการเรียนรู้คำศัพท์ด้านการ สะกดคำ ด้านความหมาย และด้านการนำไปใช้
3.3 นำแบบประเมินความสามารถทางภาษาที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พิจารณา ตัดสินเพื่อหาค่าความตรงตามเนื้อหา โดยเก็บรวบรวมผลการพิจารณาการตัดสินไปคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อของแบบทดสอบกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามสูตรของโรวิเนลลี่ และแฮมเบิลตัน
3.4 นำแบบประเมินความสามารถทางภาษาที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อของแบบทดสอบ กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยตั้งแต่ 0.5-1.00 ไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแล้วนำไป ทดลองใช้ (Try-out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน เพื่อคำนวณหาค่าความยากง่ายและความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบตามสูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) สูตรที่ 20 (KR-20)

4. ขั้นการทดลองใช้รูปแบบ Implement
4.1 ผู้วิจัยนำแผนการสอนไปดำเนินการสอนตามแผนการเรียนรู้ที่กำหนดไว้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งน้อย จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 15 คน
4.2 ผู้วิจัยนำแบบทดสอบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและแบบสอบถามที่ตนเองสร้างขึ้นไปให้นักเรียนได้ทำ


5. ขั้นประเมินและปรับปรุงรูปแบบ Evaluation
5.1 ผู้วิจัยหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการทดสอบที
5.2 ทบทวนและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน


อ้างอิง: https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/40427/33361




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กิจกรรมที่ 6 ออกแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ

วิเคราะห์การทำงาน

บันทึกการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 13/7/62